วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำธรรมชาติ


 แหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน  2 สาย ดังนี


 1.  แม่น้ำคำ       มีต้นกำเนิดจากตำบลแม่คำ  ไหลผ่านตำบลแม่ไร่  เริ่มตั้งแต่  หมู่ที่ 1 บ้านป่ากว๋าว ผ่านหมู่ที่ 3 บ้านป่าสักขวาง หมู่ที่ 4 บ้านฮ่องแฮ่  ใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชได้ทั้งฤดูฝน  และ ฤดูแล้ง  และมักจะมีปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนทุกปี
 2.  แม่น้ำแม่ไร่   มีต้นกำเนิดในตำบลแม่ฟ้าหลวง  ไหลผ่านหมู่ที่ 6 บ้านห้วยไร่  บ้านสันกอง  หมู่ที่ 7  บ้านดอนชัย  หมู่ที่ 8  บ้านสันกอง  หมู่ที่ 2

ความเจริญ กับ การขยายหมู่บ้านใหม่


ปี ๒๕๒๘   มีความเจริญมากขึ้นจึงมีการขยายไปตั้งหมู่บ้านใหม่ และ อพยพมาจากที่อื่น  เดิมทีอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลแม่คำ   ทางราชการโดยกระทรวงมหาดไทยมีการตั้งตำบลใหม่เพิ่มจึงแยกบ้านห้วยไร่ ไปเป็น ตำบลแม่ไร่  
๒๕๔๘ประวัติหมู่บ้าน / ชุมชนบ้าน สันกองใหม่หมู่ที่    (อายุชุมชน   ๘ ปี)    เดิมบ้าน สันกองใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของบ้านสันกองหมู่ที่ 7  ตำบลแม่ไร่ อำเภอแม่จัน  จังหวัดเชียงราย   โดยได้แยกออกมาเป็นอีกหมู่บ้านเนื่องจากประชากรมีจำนวนมาก  ยากต่อการบริหารงาน  แยกออกมาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2548  โดยมีนายสมทรง  ยาณะ  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และคนปัจจุบัน
๒๕๔๘พื้นที่ บ้าน สันกองใหม่  พื้นที่ 810 ไร่       ที่นา  474 ไร่        ที่สวน - ไร่  ที่อยู่อาศัย   330 ไร่ที่แหล่งน้ำ  - ไร่   ที่สาธารณะประโยชน์ 6 ไร่
๒๕๔๘ การแยกหมู่บ้าน “สันกองใหม่” หมู่ที่ ๙  เพื่อการพัฒนาและปกครอง    เมื่อวันที ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๘ บ้านสันกองใหม่หมู่ที่ ๙ ได้แยกจากหมู่ที่ ๗ มีจำนวนครัวเรือน ๑๒๐ ครัวเรือน มีประชากร ๔๖๔ คน  มีนายสมทรง  ยาณะ  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

ปี ๒๔๔๕ การก่อตั้งบ้านสันกอง หมู่ที่ 2


ปี  ๒๔๔๕   การก่อตั้งบ้านสันกอง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่ไร่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย  (เดิมคือ บ้านสันกอง หมู่ที่ 12 ตำบลแม่คำ) อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 
บ้านสันกอง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่ไร่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย  ได้ก่อตั้งเป็น หมู่บ้านขึ้น เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2445  โดยราษฎรส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน อพยพมาจาก        บ้านสันกอง
อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย กลุ่มหนึ่งประมาณสอบกว่าครัวเรือนอพยพมาจับจอง แผ้วถาง เพื่อทำเป็นที่ปลูกบ้าน และทำนาปลูกข้าว ต่อมามีราษฎรสันหลวง ตำบลยางคก  อำเภอหางฉัตร จังหวัดลำปาง ได้อพยพมาสมทบอีกหลายครอบครัว เกินหมู่บ้านขนาดเล็กขึ้นมา และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านสันกอง ตามบ้านเกิดที่ครัวเรือนได้อพยพย้ายมา โดยตั้งอยู่บ้านสันกองหมู่ที่7ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน มีราษฎรเริ่ม จำนวน 23 ครัวเรือน โดยมี       นายบุญเป็ง กองสอน เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมาไดมรราษฎรย้ายมาจากจังหวัดลำปางและลำพูน เข้ามาสมทบจำนวนประชากรจึงเพิ่มมา
ยิ่งขึ้นเรื่อยๆจนขายมาเป็นหมู่บ้านใหญ่ อำเภอแม่จันจึงแบ่งบ้านสันกอง เป็น 2 หมู่เป็นหมู่ 7 และหมู่ 12 มีนายสิงห์ คำมีเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่ 12 ต่อมา ในปี พ.ศ. 2528 กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ได้แบ่งเขตการปกครองแยกตำบลแม่คำ เป็น ตำบลแม่ไร่ และแยกบ้านสันกองหมู่ 12 เป็นบ้านสันกองหมู่ที่ 2 นับตั้งแต่นั้นเป็นตนมา
ปี  ๒๔๔๕   การก่อตั้งบ้าน “สันกอง” หมู่ที่  2  อายุชุมชน   105 ปี    บ้านสันกองเป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2445  โดยการรวมตัวของคนที่อพยพมาจาก  จ.ลำปาง  บ้านป่างิ้ว อ.เวียงป่าเป้า  บ้านสันกอง อ.พาน   เลยตั้งเป็นหมู่บ้านชื่อ บ้านสันกอง  หมู่ที่ 12 ตำบลแม่คำ  อ.แม่จัน จ.เชียงราย  สภาพพื้นที่เป็นป่าแพะ  ไม่เหมาะกับการทำการเพาะปลูก ดังนั้นจึงช่วยกันบุกเบิก  สร้างเป็นที่อยู่อาศัย และการทำการเกษตร  อยู่กันอย่างสุขสงบ  ต่อมในปี 2528  กรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย  ได้แบ่งเขตการปกครอง เนื่องจากตำบลแม่คำมีพื้นที่กว้าง  หลายหมู่บ้าน จึงได้แยกตำบล  แบ่งเขตการปกครองเป็น ตำบลแม่ไร่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บ้านสันกอง หมู่ที่ 2 ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย  โดยมีผู้ใหญ่บ้านดังนี้  1. นายเป็ง   กองสอน    2. นายสิงห์คำ  คำอ้าย             3. นายหล่น  กันทวงศ์   4. นายบัว  เนาว์ชมพู   5. นายคำ  กันยวง              6. นายศรีทน  มูลพุ่ง   7. นายพรชาติ  สุวรรณรัตน์



สถานศึกษาจากอดีต ถึงปัจจุบัน


ปี ๒๔๗๙การสร้างโรงเรียน  http://www.sankong.ac.th ประชากรเริ่มมีการขยายตัวมากขึ้น  เพิ่มเป็น ๓ หมู่บ้าน และมีเด็กมากขึ้นจึงสร้างเรียนเรียนขึ้น โดยการเก็บรวบรวมเงินของชาวบ้านหลังคาเรือนละ  4   บาท เพื่อสร้างโรงเรียน
                ๒๔๗๕    สร้างวัดสันกองในโบราณโรงเรียนวัดคือโรงเรียน  ส่วนใหญ่คนที่ไปเรียนจะเป็นผู้ชาย  เจ้าอาวาสเป้นครู สิ่งทีสอน   ส่วนใหญ่เป็นเรื่องศิลป์  และ ธรรมต่าง ๆ ความเป็นกลุ่ม  โดยเริ่ม ก่อตั้งในพื้นที่ ๑๐ ไร่ 

บ้านสันกอง หมู่ที่ 7 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 1,912 ไร่


บ้านสันกอง  หมู่ที่  7  มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 1,912 ไร่   โดยแบ่งเป็น ที่นา  50 ไร่ ที่สวน 560 ไร่  ที่อยู่อาศัย   1253 ไร่   ที่แหล่งน้ำ  10 ไร่    สาธารณะประโยชน์ 10ไร่   ที่อื่น ๆ 29ไร่     จำนวนครัวเรือน  238 ครัวเรือนจำนวนประชากร 1034  คน    เป็นชาย 541 คน เป็นหญิง 493 คน  ผู้สูงอายุ 147  คน ผู้พิการ 10คน     
การเลือกผู้นำ คนแรกของบ้านสันกอง หมู่ที่ ๗   การคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน โดยมีการคัดเลือกนายเป็ง  กองสอน  เป็นผู้นำ


 
การบุกเบิกพื้นที่เพื่อการสร้างอาชีพ  มีการบุกเบิกพื้นที่โดยอยู่ที่ความขยันของคน  ส่วนใหญ่ทำนา เพราะอยู่ใกล้น้ำ  และมีการปลูกผัก และ เลี้ยงสัตว์เพื่อกินเอง  มีการแบ่งปัน  แลกของกันกิน  ลงแขกทำนา
การซื้อขายที่ดิน และ การใช้จ่ายเงิน  ที่ดินส่วนใหญ่ก่อนอพยพมาจะเป็นป่าสัก  ป่างิ้ว   และ ที่นา  หากมีการซื้อขายต้องเอาเงินแถบ  ไปแรกเป็นเงินบาท  โดย เงินแถบ ๓๕  แถบ จะแรกเงินบาทได้ ๑๗.๕ บาท (คิดเป็น ๒ แถบ ต่อ ๑ บาท)  โดยราคาที่ดินในขณะนั้น มีราคาประมาณไร่ละ ๗ บาท หรือ ๑๔ แถบ
                 ถนนสายแรกของตำบล       ในอดีตการเดินทางไม่มีถนนในการเดินทาง ตาเป็นทางล้อต่อมาเมื่อ ปี ๒๕๓๐ มีการสร้างถนนพหลโยธิน  และ พัฒนา  ถนน ๔ เลนท์  ในเวลาต่อมา  เป็นแค่ถนนเข้าหมู่บ้านเท่านั้น
ปี ๒๔๕๐  การเพิ่มและขยายประชากร  สู่การแยกหมู่บ้าน จากบ้านบ้านสันกอง  หมู่ที่ ๗ ตำบลแม่คำ  เป็นบ้านสันกอง  หมู่ที่ ๑๒ ตำบลแม่คำ 
เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์  ชาวบ้านจึงชักชวน ญาติ พี่ น้อง ให้มาตั้งถิ่นฐานในการทำมาหากิน เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ในที่สุด   ต่อมาเมื่อปี ๒๔๕๐ ทางราชการเป็นว่า บ้านสันกองมีบริเวณกว้างวาง ยากแก่การปกครองทั่วถึง  จึงได้แยกเขตการปกครองขึ้น คือ บ้านสันกอง  หมู่ที่ ๑๒ ตำบลแม่คำ  อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (คือบ้านสันกอง  หมู่ที่ ๒ ตำบลแม่ไร่  อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ปัจจุบัน)

ปี  ๒๕๒๘   หย่อมบ้านบริวาร บ้านสันกองหมู่ ๗ บ้านสันกองหมู่ที่ ๗ มีหย่อมบ้านที่อยู่ในพื้นที่ จำนวน ๔ หย่อม คือ

๑.      บ้านสันกองที่ติดกับถนนพหลโยธิน 
๒.    บ้านห้วยกลาง
๓.     บ้านห้วยข้าวหลาม
๔.     บ้านสันขยอม (บ้านอาข่า)

ปี ๒๔๔๕ การก่อตั้งบ้าน “สันกอง” หมู่ที่ ๗


ปี  ๒๔๔๕   การก่อตั้งบ้าน “สันกอง” หมู่ที่    อายุชุมชน   ๑๑๑ ปี    ในอดีตพื้นที่บ้านสันกองหมู่ที่ 7 เคยอยู่ในการปกครองของตำบลแม่คำ  ต่อมาเมื่อมีการเปิดด่าน อ.แม่สาย และ  อ.เชียงแสน ทำให้ 2 อำเภอนี้เป็นศูนย์กลาง                                               ในการค้าขายจึงมีการอพยพเข้ามาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ   คนที่อพยพมาส่วนใหญ่มาจาก จ.ลำปาง  อ.ห้างฉัตร     เช่น  เป็นคนที่มาจากบ้านสันกอง         อ.ห้างฉัตร   บ้านสันกอง อ.พาน   และบ้านราษฎร    จ.ลำพูน  และเนื่องจากราษฎรที่ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่   นี้ส่วนใหญ่ได้ย้ายมาจากบ้าที่มีชื่อนำหน้าว่า  สัน  เมื่อรวมตัวกันมาก ๆ เลยได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า  บ้านสันกอง   ต่อมาเมื่อปี 2517 ต.แม่คำมีการขยาย
การย้ายถิ่นจากลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ สู่เชียงรายเนื่องจากที่อยู่เดิมที่จังหวัด ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่  ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์  จึงชักชวนกันย้ายมาอยู่ที่บ้านสันกอง จ.เชียงราย จากบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านสันกอง มีความอุดมสมบูรณ์
การเรียนการสอนในอดีตของคนในตำบลการเรียน     สมัยก่อนใจจังหวัดเชียงรายไม่มีโรงเรียน  หากครอบครัว         ไหนพอมีเงิน ก็จะเดินทางไปเรียนที่ จังหวัดลำปาง  โดยการเดินทางไปกับรถขนส่งข้าวสาร
การปกครอง หรือแยกการปกครองเพิ่มเป็นตำบลแม่ไร่    โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อว่า   นาบเป็ง  กองสอน    ราษฎรส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม  รับจ้าง  และค้าขายตามลำดับ
เมื่อปี ๒๔๔๕  บ้านสันกองเดิมเป็นบ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่ง ขึ้นตรงกับตำบลแม่คำ มีจำนวนครัวเรือนเริ่มแรก ๒๓ ครัวเรือน  ราษฎรส่วนใหญ่อพยพมาจากบ้านสันหลวง ตำบลปงยางครก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง  เดินทางโดยล้อ วัวเทียมเกวียน มาอยู่ ๑๓ ครัวเรือน โดยการนำของ พ่ออุ้ยหนานต๊ะเนาว์ชมพู  และ  พ่ออ้าย  ฉัตรแก้ว   ได้มาพักที่บ้านสันกอง อ.พาน ก่อน แล้วจึงชักชวน ญาติ เพื่อน อีก ๑๐ ครอบครัว  ประกอบด้วย  ครอบครัวอุ้ยถา  , อุ้ยน้อยเป็ง ,  อุ้ยตุ้ม  อุ้ยเณ , อุ้ยจันทร์อ่าง , อุ้ยหนานตัน , อุ้ยมา , อุ้ยมี , น้อยปัญญา ,ฯลฯ   มารวมตัวกันเป็นหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลแม่คำ อ.แม่จัน และได้ ใช้ชื่อว่า  บ้านสันกอง เหมือนชื่อบ้านที่ได้อพยพมา

ปี ๒๔๔๐ การก่อตั้งบ้าน “ดอนชัย” หมู่ที่ ๘


ปี ๒๔๔๐   การก่อตั้งบ้าน “ดอนชัย”  หมู่ที่  ๘ (๑๑๖ ปี)  บ้าน ดอนชัย เป็นส่วนหนึ่งของบ้านป่ากว๋าว หมู่ที่ 1  ตำบลแม่ไร่ อำเภอแม่จัน  จังหวัดเชียงราย   นำล่วงไปเมื่อปี 2440      มีครอบครัว

ชาวไทยยอง จากจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่      เดินทางมาตั้งถิ่นฐาน  ทำนา ทำไร่ ทำสวน  ซึ่งในแถบนั้นมีต้นไม้ชนิดหนึ่งเป็นจำนวนมาก  ภาษาพื้นที่เรียกว่า “ต้นกว๋าว  จึงมีการตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านป่ากว๋าวตามสภาพพื้นที่  ต่อมาผู้คนอพยพเจ้ามาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้น  จึงมีการสร้างบ้านเรือน และวัดประจำหมู่บ้าน ในเนื้อที่ 5 ไร่  ต่อมาเมื่อปี 2486  มีการสร้างโรงเรียนขึ้น   เมื่อปี 2540 มีการขยายการปกครอง  จากเดิมหมู่บ้านป่ากว๋าว    ขยายมาเป็นหมู่บ้านดอนชัย  ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับการเห็นชอบจากประชาชนในพื้นที่   เป็นชื่อที่เป็นมงคล  และมีเหตุว่า  ชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่มีนามสกุลลงท้ายว่า ชัย  เป็นส่วนใหญ่  อีกนัยหนึ่งบอกว่า ใช้ชื่อบอกว่า ดอนชัย ตามหมู่บ้านเดิมของบรรพบุรุษที่อพยพมาจาก     จ.ลำพูน   โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายนิทัศน์   ห้วยไชย  ปัจจุบัน คือ นายประเสริฐ  อุประ บ้าน“ดอนชัย” หมู่ที่8 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 836 ไร่  โดยแบ่งเป็น  ที่นา540ไร่  ที่สวน 140 ไร่ ที่อยู่อาศัย   120 ไร่   ที่แหล่งน้ำ  - ไร่  ที่สาธารณะประโยชน์ 1 ไร่ ที่อื่น ๆ 35ไร่

ปี ๒๔๓๕ การก่อตั้งบ้าน“ดงมะตืน” หมู่ที่ ๕


ปี ๒๔๓๕  การก่อตั้งบ้าน“ดงมะตืน”  หมู่ที่  ๕(๑๒๑ ปี)   บ้านดงมะตืน  ก่อตั้งโดยคนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจาก  จ.เชียงใหม่  โดยมีนายต๊ะ  ธาตุรักษา  เป็นผู้นำ เริ่มแรกมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 12 ครัวเรือน  เมื่อ ปี พ.ศ. 2435    โดยมีการสร้างวัดดงมะตืน โดยการนำของพระคำ   ธาตุรักษา เป็นเจ้าอาวาสคนแรก  และสร้างวัดบ้านดงมะตืน  หมู่ที่๕
บ้าน “ดงมะตืน”  หมู่ที่  ๕มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น  1,500 ไร่โดยแบ่งเป็น   ที่นา  550 ไร่              ที่สวน 125 ไร่            ที่อยู่อาศัย   793 ไร่   ที่แหล่งน้ำ  12 ไร่   ที่สาธารณะประโยชน์ 5 ไร่                        ที่อื่น ๆ 15 ไร่

ปี  ๒๔๒๖  การก่อตั้งบ้าน “ฮ่องแฮ่”  หมู่ที่  ๔(๑๓๐ ปี)บ้านฮ่องแฮ่  ก่อตั้งมาเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด   คาดคะเนว่า  ก่อตั้งมาประมาณ 120-130 ปี  โดยประชากรส่วนมากอพยพมาจาก จ.ลำพูน  และมีการอพยพเข้ามาเรื่อย ๆ ชื่อเริ่มแรกชื่อว่าบ้านร่องแรด  เนื่องจากเดิมเป็นเส้นทางการเดินทางของแรดในการออกหาอาหาร  ซึ่งที่อยู่จริง อยู่ในพื้นที่ดอยสะโง้ (อ.เชียงแสน)  และเดินทางทุกวัน  จนเส้นทางที่เดินการเป็นร่อง  เมื่อถึงฤดูฝนน้ำก็จะไหล  และ กลายเป็นร่องน้ำ   พอนาน ๆ ชาวบ้านจึงเรียกว่าน้ำร่องแรด   และต่อมาเรียกตามชื่อน้ำว่า บ้านร่องแรด  หรือเรียกใหม่ว่าบ้านร่องแร่  หรือ ฮ่องแฮ่ในปัจจุบัน   บ้าน“ฮ่องแฮ่”  หมู่ที่  ๔มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น  1,000 ไร่โดยแบ่งเป็น  ที่นา  443 ไร่ที่สวน 15 ไร่              ที่แหล่งน้ำ  1.5 ไร่  ที่อยู่อาศัย452 ไร่ จำนวนครัวเรือน  122  ครัวเรือนจำนวนประชากร 394 คน  เป็นชาย 207 คน เป็นหญิง 187 คน  ผู้สูงอายุ 35 คน ผู้พิการ 3 คน
ปี ๒๔๙๐ การอพยพของชาติพันธ์ลัวะ หรือละว้า   จากเชียงใหม่           สู่เชียงราย  เดิมเมื่อปี ๒๔๙๐    พ่ออุ้ยปัน  จันทาอ้าย  และ พ่ออุ้ยแสน     กาวิใจ (กาวิละ) ซึ่งพ่อค้าวัวต่าง  จากจังหวัดเชียงใหม่ มาค้าวัว     ค้าควายในพื้นที่ เห็นว่าเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์  จึงกลับไปที่เชียงใหม่   เพื่อไปชัดชวนญาติพี่น้อง มาอยู่  โดยมีการอพยพ มาจาก  อ.จอมตอง     จ.เชียงใหม่

ปี ๒๔๒๕ การก่อตั้งบ้าน “ป่ากว๋าว” หมู่ที่ ๑



ปี  ๒๔๒๕   การก่อตั้งบ้าน “ป่ากว๋าว”   หมู่ที่  ๑  (๑๓๑ ปี)ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านป่ากว๋าว คือกลุ่มคนที่อพยพมาจาก  จ.ลำปาง  ลำพูน เชียงใหม่  ส่วนใหญ่จะเป็น  ชาติพันธุ์

ไทยลื้อ  โดยมีนายเฮือน   เรือนมูล  เป็นผู้นำ  เริ่มแรกมีจำนวน ๒๘ ครัวเรือน  ก่อตั้งเมื่อ              ปี ๒๔๒๕   ต่อมามีการสร้างวัดดอนมูลขึ้นโดยการนำของ    

พระอินสม  คำติ๊บ  ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น   บ้านป่ากว๋าว หมู่ที่ ๑ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น  0.2 ตารางกิโลเมตร   โดยแบ่งเป็น   ที่นา  850 ไร่    ที่สวน 10 ไร่   ที่อยู่อาศัย 2.1 ตารางกิโลเมตร   ที่แหล่งน้ำ 1 ไร่     ที่สาธารณะ 2 ไร่   ที่ดิน (นารวม ๑๐ ไร่  บริเวณหลังวัดดอนมูล)  มีจำนวนครัวเรือน  305  ครัวเรือน  จำนวนประชากร 1100 คน เป็นชาย 510 คน เป็นหญิง 590 คน  ผู้สูงอายุ 98 คน ผู้พิการ 7 คน