
ปี ๒๑๓๓ มีการอพยพ
มาอยู่อาศัยบริเวณริมแหล่งน้ำ
และตั้งชื่อว่าบ้านห้วยไร่ หมู่ที่ ๖
บ้านห้วยไร่เคยเป็นราชธาณีแคว้นเชียงแสนและมีการอพยพมาอยู่ในพื้นที่เนื่องจากเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ไปด้วยป่าใหญ่
นานาชนิด และต้นไม่ไผ่ ไม่ไร่ มาก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๑๓๓
โดยมีนายหิง นางเอ้ย มาปลูกกระท่อมเลี้ยงควาย (ปางควาย-ฟาร์มควาย)
ต่อมาได้มีนักบุญแห่งล้านนาผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองลำพูนขึ้นมาสร้างถนนขึ้นพระตำหนักดอยตุงและบูรณสังขรณ์ลุถึง
พ.ศ. ๒๔๗๐ คือ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย เดินผ่านบ้านห้วยไร่ ได้พักเที่ยงและได้เวลาฉันท์เพล ณ
ที่ห้วยหินลับ บ้านห้วยข้าวหลาม บ้านห้วยไร่เป็นทางผ่านในการเดินทางขึ้นดอยตุง ต้องเตรียมน้ำขึ้นเวลาเดินขึ้นดอย ขณะนั้นอุบาสก อุบาสิกา
เดินทางพร้อมนักบุญมาจากเชียงใหม่
ได้ตัดไม้ไร่ ขุดบ่อน้ำ เพื่อจะนำน้ำไปดื่มขณะเดินทาง จึงชื่อว่าบ้านห้วยไร่ ต่อมานายหิง
นางเอ้ยได้รับคำสั่งจากส่วนราชการให้เกณฑ์คนไปเฝ้าพระธาตุซึ่งกำลังสร้างขึ้นใหม่ พร้อมกับสถาปนาตัวเป็นข้าทาส หรือ
บริวารองค์พระธาตุ จึงได้ชื่อสกุลว่า พุทธะรักษา
และต่อมาเปลี่ยนเป็นไร่พุทธา
จนถึงปัจจุบัน ส่วนบ้านดงมะตืนใช้
ชื่อสกุลว่า ธาตุรักษา

นายหิง นางเอ้ย
เป็นครอบครัวแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ตำบล ขณะนั้นไม่มีหมู่บ้านใกล้เคียงติดต่อกัน เนื่องจากมีทิวทัศน์ที่น่าอยู่ จึงได้ไปชักชวนเพื่อนบ้าน
ญาติที่เคยอยู่เดิม รวม ๑๒๐ ครัวเรือน จึงนับว่าเป็นหมู่บ้านใหญ่ และ
มีการก่อสร้างวัดในปีเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น